1.งานบริการวิชาการ

ความเป็นมา

                           การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยพึงให้บริการทางวิชาการแก่ ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัดและใน ด้านที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิด ค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชนและสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนา วิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำ ประโยชน์ให้สังคมแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้รับประโยชน์ในด้านต่าง ๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของ อาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอนและ การวิจัยพัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษา และเป็นการสร้างรายได้ของมหาวิทยาลัยจากการให้บริการทางวิชาการด้วย 

                          การบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ในช่วงระยะปานกลาง 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ภายใต้แพลตฟอร์ม การพัฒนางานวิจัย บริการวิชาการ และวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม ตามหมุดหมายการพัฒนาประเทศ เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรที่มหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็ง ภายใต้ BCG Model เป้าหมายเพื่อต้องการยกระดับ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความในการแข่งขัน โดยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยการให้บริการวิชาการด้าน นวัตกรรมในเชิงการผลิต ปรับปรุงกระบวนการ และแก้ไขปัญญา เพิ่มคุณค่าการให้บริการ รูปแบบการดำเนินงาน บริการวิชาการประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. การบริการวิชาการแบบให้เปล่า 2. การบริการวิชาการแบบร่วม ทุน 3. การบริการวิชาการแบบก่อให้เกิดรายได้ โดยมีลักษณะการให้บริการที่หลายหลาย เช่น การฝึกอบรมระยะ สั้น การออกแบบ การผลิต การเป็นที่ปรึกษา การตรวจวิเคราะห์ การสำรวจ การทดสอบ การประมวลผล การวาง ระบบ การค้นคว้าวิจัย เป็นต้น มหาวิทยาลัยยังได้อนุมัติจัดตั้งสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ด้านการบริการวิชาการให้บรรลุตาม แผนการที่วางไว้และดำเนินงานภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุมและติดตามผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ บริการทางวิชาการระดับมหาวิทยาลัย

นางสาวปนัดดา หะยีอาแว

เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยี

Panadda.t@rmutsv.ac.th

นางสาวณัฐกานต์ คงเมฆา

นักวิชาการศึกษา

Natthakarn.k@rmutsv.ac.th

นางสาวปภาวดี คงสุจริต

นักวิชาการศึกษา

Prapawadee.k@rmutsv.ac.th